การใช้ยา


การรับประทานยาน้ำสมุนไพร หย่งชุน หย่งชิง

สำคัญมาก “เปิดขวดแล้วต้องเก็บในตู้เย็น” 

ช่วงรักษาร่างกาย (ไม่จำกัดว่ากี่ขวด รับประทานปริมาณนี้จนกว่าอาการจะหาย)
เช้า ก่อนอาหาร หรือ หลังอาหาร 30 cc
และ ก่อนนอน 30 นาที 30 cc ( 2 มื้อ )

ช่วงบำรุงร่างกาย (สามารถรับประทานได้ทุกวัน หรือจะเว้นวันตามสะดวก แต่ไม่ควรเว้นนาน ถ้าสุขภาพไม่ดีต้องกลับมาเริ่มฟื้นฟูกันใหม่)
เช้า ก่อนอาหาร หรือ หลังอาหาร
10 – 20 cc ตามต้องการ
หรือ ก่อนนอน 30 นาที 10 – 20 cc ตามต้องการ ( 1 มื้อ )

ช่วงเกิดภาวะกระทุ้งพิษ (แนะนำให้ลดปริมาณยา แล้วดูอาการตอบสนองต่อยา เมื่ออาการเบาลงค่อยเพิ่ม ถ้าอาการมากให้หยุดยาก่อน 2-3 วันแล้วเริ่มใหม่)
ดื่มน้ำมะนาว หรือ ชาสมุนไพร ดื่มน้ำเปล่า ตลอดวันเพื่อ ช่วยร่างกายขับพิษ
ดื่มยาน้ำ 5 cc เช้า (ก่อนหรือหลังอาหาร) หรือ ก่อนนอน 30 นาที ( 1 มื้อ )


แนะนำให้ทานต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 ขวด ในการดูแลสุขภาพครั้งแรก โดย

ขวดแรกจะรับประทานได้ประมาณ 6-7 วัน (30 cc 2 มื้อ) 

ขวดที่2ประมาณ 8-12 วัน ( 15-20 cc  2 มื้อ)

ขวดที่3บำรุงร่างกาย ประมาณ 20-30 วัน (10-15 cc มื้อเดียวก่อนนอน)


ภาวะกระทุ้งพิษ (Healing Crisis)

ภาวะกระทุ้งพิษคืออะไร
คืออาการที่เกิดเมื่อฤทธิ์ทางยาของสมุนไพรทำการขับพิษที่สะสมในร่างกายตามชั้นไขมัน หรือระบบเลือด ทำให้พิษสลายตัวออกมาตามกระแสเลือด ถ้าพิษออกมามากและเร็วจะรู้สึกเหมือนป่วยมากขึ้น ต่อจากนั้นอาการจะดีขึ้น

ภาวะกระทุ้งพิษเกิดขึ้นเมื่อไหร่
บางคนอาจจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับยาสมุนไพร ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ บางคนอาจจะรู้สึกดีขึ้นในช่วงแรก หลังจากร่างกายเริ่มขับสารพิษได้และมากขึ้นก็จะเกิดอาการกระทุ้งพิษ รู้สึกป่วยมากขึ้น ภาวะกระทุ้งพิษอาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีก เพราะร่างกายจะขับพิษตามระบบต่าง ๆไล่กันออกมา และจะมีอาการมากน้อยขึ้นอยู่กับสุขภาพเดิมของผู้ป่วย แต่มักจะหนักในช่วง 2-3 วันแรก

เมื่อร่างกายขับสารพิษออกได้และได้รับการฟื้นฟู จะรู้สึกแข็งแรง หน้าตาสดชื่น ผ่องใส การนอนหลับจะดี หลับได้ลึกและนานขึ้น

 


ภาวะกระทุ้งพิษ อาการเป็นอย่างไร

เมื่อร่างกายพยายามขับพิษออกทุกทาง อาการป่วยจึงสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย และอาจจะเกิดผลต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ด้วย

อาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย ข้อบวม ท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง
อ่อนเพลีย กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน
ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะบ่อย
อาการเหมือนไข้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน
อารมณ์แปรปรวน เช่น อารมณ์เสีย เกรี้ยวกราด ซึมเศร้า หวาดกลัว

อาการต่าง ๆ อาจจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน และอาจจะเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้ง ตามสภาพพิษสะสม และความแข็งแรงของร่างกาย


การรับประทานยาน้ำสมุนไพร ก่อนหรือหลังอาหาร

ควรรับประทานยาก่อนอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหากับระบบการรับประทาน เช่นผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด อาจจะเกิดผลกระทบเป็นแผลในปากทำให้ทานอาหารลำบาก หรือผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน

ปรึกษาเรื่องสุขภาพกับ คุณหมอจอยเทพประทาน แพทย์แผนไทยปรึกษาเรื่องสมุนไพรและสุขภาพกับหมอจอยเทพประทาน